สวัสดีเพื่อนๆ สมาชิก สื่อฟรีออนไลน์ดอทคอม ทุกท่านนะครับ วันนี้พบกับ สื่อฟรีออนไลน์ดอทคอม เช่นเคยครับ วันนี้แอดมินมีไฟล์มาแนะนำให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นไฟล์ แนวทางการจัดการเรียนรู้ สังคมศึกษายุคใหม่ ซึ่งเพื่อนๆ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดนำไปศึกษาและนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ สังคมศึกษายุคใหม่ ตามบริบทของห้องเรียน ได้ครับ แอดมินขอแนะนำไฟล์ แนวทางการจัดการเรียนรู้ สังคมศึกษายุคใหม่ ตามรายละเอียดดังนี้ครับ

ดาวน์โหลด แนวทางการจัดการเรียนรู้ สังคมศึกษายุคใหม่ โดย อาจารย์ ดร.ฐากร สิทธิโชค

ดาวน์โหลด แนวทางการจัดการเรียนรู้ สังคมศึกษายุคใหม่ โดย อาจารย์ ดร.ฐากร สิทธิโชค


รายละเอียด แนวทางการจัดการเรียนรู้ สังคมศึกษายุคใหม่

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคมศึกษา
สังคมศึกษาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นศาสตร์ความรู้หนึ่งที่มีความสำคัญ และมีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา สามารถปรับตัวและปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในฐานะพลเมืองดีของสังคมไทยและสังคมโลก ดังนั้นครูผู้สอนรายวิชาสังคมศึกษา จึงควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในรายวิชาสังคมศึกษา
ความหมายของวิชาสังคมศึกษา
สังคมศึกษา (Social Studies) เป็นองค์ความรู้ที่มีมาตั้งแต่อดีต โดยแฝงตัวอยู่กับศาสตร์ความรู้สาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะในสาขาสังคมศาสตร์ ต่อมาราวศตวรรษที่ 19 นักการศึกษาในแถบภูมิภาคยุโรปและสหรัฐอเมริกา จึงได้ริเริ่มกล่าวถึงวิชาสังคมศึกษาในวงการศึกษามากขึ้น จนเป็นที่นิยมและแพร่หลายในระยะเวลาต่อมา ทั้งนี้นักการศึกษาและนักวิชาการหลายท่าน ได้ให้ความหมายของสังคมศึกษาไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้
เพรสตัน (Preston C. Ralph. 1988 : 1 – 2) กล่าวถึงสังคมศึกษาในอีกแง่หนึ่งว่า สังคมศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวิชาสังคมศาสตร์ที่เลือกสรรมา เพื่อใช้ในการสอนเด็กโดยเฉพาะระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาส่วนมากจะได้เนื้อหาวิชามาจากสังคมศาสตร์ คือ

  1. ประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์
  2. ภูมิศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับแผ่นดินที่อยู่อาศัย
  3. หน้าที่พลเมือง เป็นการศึกษาเรื่องสิทธิและหน้าที่มนุษย์
  4. สังคมวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสถาบันของมนุษย์และกระบวนการทางสังคม
  5. มานุษยวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของกลุ่มชน
  6. เศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับผลผลิต การแจกจ่าย และการใช้สิ่งที่มีค่าในการแลกเปลี่ยน และปรากฏการณ์ทางสังคมอันเกิดขึ้นจากกิจกรรมดังกล่าวทั้งนี้ความหมายของสังคมศึกษาตามความคิดของเพรสตัน (Preston C. Ralph) สอดคล้องกับที่ เอ็ดการ์ (Edgar B. Wesley) กล่าวว่า สังคมศึกษา หมายถึง วิชาสังคมศาสตร์ที่ได้รับการดัดแปลง หรือทำให้ง่ายขึ้น เพื่อสะดวกแก่การสอน สำหรับนักเรียนในระดับประถมและมัธยม จาโรลิมาร์ก และปาร์เกอร์ (Jarolimak and Parker. 1993 : 4) กล่าวว่า สังคมศึกษาเป็นวิชาที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทางสังคม รวมถึงวิธีที่มนุษย์จะใช้สิ่งแวดล้อมเพื่อสนองความต้องการของตนในการดำรงชีวิต

จากความหมายของสังคมศึกษาที่นักการศึกษาได้นิยามมาข้างต้น สามารถกล่าวพอสรุปได้ว่าวิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาที่มีโครงสร้างเนื้อหามาจากสังคมศาสตร์ ที่ประกอบด้วยแขนงวิชาทางรัฐศาสตร์ สังคมวิทยา ศาสนศาสตร์ จริยศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น โดยเลือกสรรเนื้อหาและปรับให้มีความเหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน เพื่อมุ่งส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีของสังคมไทยและสังคมโลก นอกจากนี้วิชาสังคมศึกษา สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างปกติสุข

ตัวอย่างไฟล์ แนวทางการจัดการเรียนรู้ สังคมศึกษายุคใหม่


เอกสารเป็นไฟล์ PDF

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารจากลิงก์ด้านล่างนี้ นะครับ

ติดตามข่าวบน Facebook เพื่อไม่พลาดข่าว ได้ที่

ท่านสามารถติดตามข่าวสารการศึกษา ข่าวเปิดสอบงานราชการ เปิดสอบครูอัตราจ้าง ข่าวเรียกบรรจุ อบรมออนไลน์ โหลดสื่อการสอน หรืออ่านบทความต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา www.สื่อฟรีออนไลน์.com ได้ตลอดเวลา และสุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เราจะนำเสนอข้อมูล เนื้อหาดี ๆ มีสาระให้กับทุกท่านอีกครั้งอย่างแน่นอน ขอบคุณครับ

ขอบคุณแหล่งที่มา : อาจารย์ ดร.ฐากร สิทธิโชค

ติดตามโพสต์ล่าสุด

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ห้ามพลาด