สวัสดีเพื่อนๆ สมาชิก สื่อฟรีออนไลน์ดอทคอม ทุกท่านนะครับ วันนี้พบกับ สื่อฟรีออนไลน์ดอทคอม เช่นเคยครับ วันนี้แอดมินมีไฟล์มาแนะนำให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นไฟล์ แนวทางการเรียนรู้แบบนาโนเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนในสังคมยุควิถีถัดไป ซึ่งเพื่อนๆ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดนำไปศึกษาและนำไปเป็นแนวทางการเรียนรู้แบบนาโนเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนในสังคมยุควิถีถัดไป ให้กับนักเรียน ตามบริบทของห้องเรียน ได้ครับ แอดมินขอแนะนำไฟล์ แนวทางการเรียนรู้แบบนาโนเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนในสังคมยุควิถีถัดไป ตามรายละเอียดดังนี้ครับ
ดาวน์โหลด แนวทางการเรียนรู้แบบนาโนเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนในสังคมยุควิถีถัดไป โดย คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายละเอียด แนวทางการเรียนรู้แบบนาโนเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนในสังคมยุควิถีถัดไป
คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์เป็นคณะหนึ่งใมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มุ่งสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้วยปณิธานอันหมายมั่นเพื่อขับเคลื่อนสังคมด้วยการเรียนรู้และการศึกษา โดยใช้แนวทางการเรียนรู้ทฤษฎีเชื่อมร้อยกับประสบการณ์ทั้งในชั้นเรียน ชุมชน และบริบทการทำงานจริง
จากจุดเริ่มต้นสู่การก้าวเดิน เรื่องราวได้เริ่มมาแล้วเมื่อคราวต้นหนาวปลายเดือนกันยายน 2557 ครั้นกระทั่งถึง ณ เวลาปัจจุบัน ยามฤดูฝนพรำมิถุนายน 2567 ก็พอจะนับรวมได้ว่า เป็นการเดินทางก้าวเข้าสู่ 1 ทศวรรษแห่งการก่อตั้งสถาปนา แม้ว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาจะชี้ให้เห็นเรื่องราวต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างน่าภูมิใจก็ตาม แต่ภายใต้การผูกสัมพันธ์ไว้ด้วยแนวคิด ปรัชญาวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม ก็ยังเป็นข้อท้าทายสำหรับการย่างก้าวในเส้นทางนี้่ต่อไป
อย่างไรก็ตามหนึ่งในภารกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการเปลี่ยนแปลงคือ การผลิต การสร้าง และการสรรองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ให้ผู้คนได้เรียนรู้และเท่าทันยุคสมัย ดังนั้น วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์จึงเปรียบดั่งพื้นที่อันเป็นพันธสัญญาที่จะเสริมให้ภารกิจนี้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย
ดังนั้น วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ฉบับนี้ จึงมุ่งนำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแนวทางการสอน แนวทางการเรียนรู้ หรือแม้แต่หลักคิดต่าง ๆ ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทุกชั่วขณะ ทั้งนี้ ภาพรวมของบทความต่าง ๆ อาจจะนำพาไปสัมผัสกับกรอบคิดความทันสมัยซึ่งอาจถูกตีความว่าเป็นเครื่องมือที่มีส่วนช่วยในการนำพาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตอันเป็นปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกัน องค์ความรู้เดิมต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในข้อเขียนนั้น ก็ถือได้ว่าเป็นฐานคิดที่ทำให้เกิดความมั่นคงทางปัญญา และเกิดการมองอนาคตอย่างเข้าใจลึกซึ้ง
บทความในวารสารฯ ฉบับวาระครบรอบ 10 ปีของคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ฉบับนี้ ถือเป็นการนำเสนอหลักคิด แนวทาง หรือเครื่องมือใหม่ๆ ในการนำพาผู้เรียนก้าวข้ามความไม่รู้ได้อย่างเป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ประกอบด้วยบทความต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
บทความวิจัยเรื่อง “แนวทางการเรียนรู้แบบนาโนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนในสังคมยุควิถีถัดไป” ของ วรินทร สิริพงษ์ณภัทร และ ชรินทร์ มั่งคั่ง คณะผู้วิจัยสนใจศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบนาโน หรือ micro learning ซึ่งถือเป็น “วิธีการ” การเรียนรู้แบบ“วิถีใหม่” ที่ถูกออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคถัดไป ของผู้เรียน อนึ่ง ผู้วิจัยชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าว ทำให้เกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต นอกจากนี้ ข้อเขียนยังท้าทายความคิดการตั้งข้อสังเกตเรื่องปรากฏการณ์ของสังคมภายใต้เหตุการณ์โรคระบาด เพราะหากต้องประสบกับสถานการณ์
“โรงเรียนปิด” ไม่ว่าด้วยเพราะภัยพิบัติ หรือ ปัจจัยใด ๆ การเรียนรู้ดังกล่าวนี้เอง ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้ด้วยตนเอง และดำรงชีพได้อย่างมีดุลยภาพ
บทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับชุดตัวต่อเลโกเพื่อการศึกษา (LEGO Education) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2” ของนพดล ราชคม ผู้วิจัยได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับชุดตัวต่อเลโกเพื่อการศึกษา (LEGO Education) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ่ 2 โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงนวัตกรรมผ่านการคิดแบบเป็นระบบ และการปฏิบัติตามขั้นตอนการออกแบบวิธีแก้ไขปัญหาใน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการพิจารณาปัญหา (empathize) 2) ขั้นระบุปัญหาและกรอบของปัญหา (define) 3) ขั้นการระดมสมอง (brainstorm) 4) ขั้นสร้างต้นแบบ (prototype) และ 5) ขั้นทดสอบ (test) 12 วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน)
บทความวิจัยเรื่อง “Fostering Critical Thinking Skills in Lower Secondary School Students by Using Group Discussion Articles and Clues Box” ของ Kaecha Sai-ed ผู้วิจัยมีเป้าหมายในการศึกษาพัฒนาการของทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยการใช้การสนทนากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและเครื่องมือการสอน Clues Box ผลการศึกษาพบว่าการใช้บทความสนทนาแบบกลุ่มและ Clues Box ร่วมกัน สามารถกระตุ้นทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ โดยการใช้กลยุทธ์การศึกษานวัตกรรมเหล่านี้ ผู้สอนสามารถทำให้นักเรียนมีความคิดอย่างมีเหตุผล วิเคราะห์ได้และทำการตัดสินใจบนฐานข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีกระบวนความคิดที่รอบคอบเพื่อการเผชิญหน้าและแก้ปัญหาความท้าทายต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน
บทความวิจัยเรื่อง “การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น” ของ สุวลักษณ์ อ่อนนวล พนิดา พานิชวัฒนะ และจุฑามาศ แสงงาม คณะผู้เขียนสนใจประเด็นเรื่องระดับการรับรู้ตนเองการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศ และระดับชั้นที่ส่งผลต่อความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ต้องตัดสินใจเลือกอาชีพ ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าว ส่งผลหรือมีอิทธิพลต ่อการตรวจสอบ ความถนัด ความสนใจ ความสามารถทางการเรียน ซึ่งบอกความสามารถของตนเองผ่านการรับรู้และเข้าใจความต้องการของตนเอง สาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งศึกษาข้อมูลที ่ตนสนใจและเลือกมาเพื่อการวางแผนการเรียนและอาชีพของตนเองได้ในอนาคต
บทความวิชาการเรื่อง “กระบวนการพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาในยุคดิจิทัลด้วยกระบวนการ ACTMARR 7 ขั้นตอน” ของ นพดล ราชคม และสุดคนึงอาจชอบการ คณะผู้เขียนเห็นปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในประเด็นเรื่องการขาดทักษะการสื่อสาร คณะผู้เขียนเห็นพ้องว่า ทักษะดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน ดังนั้น คณะผู้เขียนจึงสนใจศึกษากระบวนพัฒนาทักษะการสื่อสารและการนำเสนอให้
มีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการ ACTMARR 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การเข้าใจผู้ฟัง (audience awareness) 2) การกำหนดเป้าหมายชัดเจน (clarity of purpose) 3) การเลือกเนื้อหาอย่างรอบคอบ (thoughtful selection) 4) การฝึกฝนอย่างเชี่ยวชาญผ่านกิจกรรมหลากหลาย (masterful practice) 5) การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม (adaptive technology utilization) 6)สะท้อนผลอย่างเข้าใจ (reflective feedback) และ 7) การนำผลที่ได้ไปปรับใช้ (refinement through application) อย่างไรก็ดีคณะผู้เขียนสรุปว่ากระบวนการดังกล่าว ยังมีข้อจำกัดบางประการและเห็นว่าเป็นข้อท้าทายสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาที่จะนำไปปรับใช้ได้จริงในชั้นเรียน
ตัวอย่างไฟล์ แนวทางการเรียนรู้แบบนาโนเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนในสังคมยุควิถีถัดไป
เอกสารเป็นไฟล์ PDF
ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารจากลิงก์ด้านล่างนี้ นะครับ
ติดตามข่าวบน Facebook เพื่อไม่พลาดข่าว ได้ที่
ท่านสามารถติดตามข่าวสารการศึกษา ข่าวเปิดสอบงานราชการ เปิดสอบครูอัตราจ้าง ข่าวเรียกบรรจุ อบรมออนไลน์ โหลดสื่อการสอน หรืออ่านบทความต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา www.สื่อฟรีออนไลน์.com ได้ตลอดเวลา และสุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เราจะนำเสนอข้อมูล เนื้อหาดี ๆ มีสาระให้กับทุกท่านอีกครั้งอย่างแน่นอน ขอบคุณครับ
ขอบคุณแหล่งที่มา : คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ติดตามโพสต์ล่าสุด
- แจกฟรี โครงการโรงเรียนคุณธรรม ไฟล์ Word แก้ไขได้
- แจกฟรี รายงานโครงงานคุณธรรม ตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีการศึกษา 2567
- ดาวน์โหลด การวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อสอบ O-NET กับมาตรฐาน ตัวชี้วัด และแนวคำตอบ วิชาคณิตศาสตร์
- ดาวน์โหลดฟรี ข้อสอบปลายภาคเรียน ข้อสอบหลายวิชา ตรงตามตัวชี้วัด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 พร้อมตารางวิเคราะห์ ปีการศึกษา 2567 ไฟล์ Word แก้ไขได้
- ดาวน์โหลด E-book มรดกภูมิปัญญาอีสาน