สวัสดีเพื่อนๆ สมาชิก สื่อฟรีออนไลน์ดอทคอม ทุกท่านนะครับ วันนี้พบกับ สื่อฟรีออนไลน์ดอทคอม เช่นเคยครับ วันนี้แอดมินมีไฟล์มาแนะนำให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นไฟล์ ตัวอย่าง Best Practice รายงานวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (OBEC Content Center) ประเภท ผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเพื่อนๆ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดนำไปศึกษาและนำไปเป็นแนวในการจัดทำ Best Practice รายงานวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (OBEC Content Center) ประเภท ผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ครับ แอดมินขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่าง Best Practice รายงานวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (OBEC Content Center) ประเภท ผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ตามรายละเอียดดังนี้ครับ
แจกไฟล์ ตัวอย่าง Best Practice รายงานวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (OBEC Content Center) ประเภท ผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล โดย คุณครูชนัญญา องค์กุย
รายละเอียด รายงานวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (OBEC Content Center) ประเภท ผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
ความเป็นมาและความสำคัญ
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เนื่องจาก คณิตศาสตร์ ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถ วิเคราะห์ปัญหาหรือ สถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือใน การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ กับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัย และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า อย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คำนึงถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะที่ จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นสำคัญ นั่นคือ การเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสารและการร่วมมือ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม สามารถแข่งขันและ อยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้ ทั้งนี้การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จนั้น จะต้อง เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมที่จะประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา หรือ สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมตามศักยภาพ ของผู้เรียน (กระทรวงศึกษาธิการ. 2560: 1)
ในบรรดาวิชาต่าง ๆ ที่นักเรียนต้องเรียนรู้ในแต่ละวันนั้น วิชาหนึ่งที่ติดอันดับวิชาที่ยากที่สุดในสายตา ของนักเรียนแทบจะทุกระดับคงหนีไม่พ้นวิชาคณิตศาสตร์ที่เต็มไปด้วยตัวเลขและสูตรคำนวณมากมายแปลกตา ซึ่งยิ่งเรียนมากเท่าไหร่ การคำนวณก็ยิ่งยากและชวนให้สับสนมากขึ้น จึงทำให้นักเรียนส่วนใหญ่นั้น มองว่า วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก และมีจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาในการเรียนวิชานี้ซึ่งปัญหาของการเรียน คณิตศาสตร์ของนักเรียนนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ที่ดี ทำให้ ต่อยอดการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นได้ยาก จึงเกิดความรู้สึกว่าวิชานี้มีความยาก น่าเบื่อ และไม่มองเห็นประโยชน์ จากการเรียนวิชานี้ เพราะเชื่อว่าปัจจุบันเราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการคำนวณต่าง ๆ แทนเรา ได้ ทั้ง ๆ ที่การเรียนวิชาคณิตศาสตร์นั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะการเรียนคณิตศาสตร์นั้น ถ้านักเรียน สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจในหลักการ วิธีการ ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ มีความเข้าใจในความคิดรวบยอด มีทักษะในการแก้ปัญหา คิดอย่างเป็นตรรกะ เป็น เหตุเป็นผล และสามารถวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้(นรรัชต์ ฝันเชียร. 2565: ออนไลน์)
จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน ชุมชนบ้านประดู่ยืน ปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า รายวิชาคณิตศาสตร์ มีผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 39.63 ซึ่งสูง กว่าระดับประเทศอยู่เพียงร้อยละ 2.80 เมื่อพิจารณาตามสาระการเรียนรู้จึงทราบว่าสาระที่ 1 จำนวนและ พีชคณิต นักเรียนมีผลการทดสอบที่ต่ำกว่าเกณฑ์กว่าร้อยละ 50 อีกทั้งผลการสอบนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ เมื่อพิจารณาพบว่าหน่วยการเรียนรู้ที่ นักเรียนมีปัญหามากที่สุด คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ทศนิยม เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม นักเรียน แสดงวิธีทำเขียนเศษส่วนในรูปของทศนิยมผิดเป็นจำนวนมาก ไม่รู้ว่าจะเริ่มขั้นตอนอย่างไรเป็นลำดับแรก ทำอย่างไรถึงจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ไม่สามารถอธิบายวิธีการคำนวณได้ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้การเรียน ทศนิยมในเรื่องอื่น เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร การเปรียบเทียบทศนิยม การแก้โจทย์ปัญหา ทศนิยมของนักเรียนเกิดความเข้าใจผิดพลาดไปด้วยเช่นกัน เพราะการเขียนเศษส่วยในรูปทศนิยมเป็นเหมือน พื้นฐานให้เพื่อเรียนทศนิยมขั้นต่อไป จนทำให้นักเรียนคิดว่าเนื้อหาที่เรียนยากจนเกิดการเบื่อหน่ายในวิชา คณิตศาสตร์ จึงส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำลง เป็นผลกระทบโดยตรงต่อการเรียนในระดับ ที่สูงขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดอาจเป็นเพราะว่านักเรียนไม่ชอบ คิดเอง ขาดการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง กระบวนการจัดการเรียนรู้ขาดสื่อการสอน ไม่มีความน่าสนใจ การสอน เน้นเพียงการบรรยายเพียงอย่างเดียว
จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาและ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครูผู้สอนจึงหาแนวทางในการแก้ปัญหาโดยเลือกใช้การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning รูปแบบ GPAS 5 Steps และใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลจากระบบ OBEC Content Center ซึ่งเป็น ระบบที่มีสื่อให้ครูผู้สอนน ามาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ จนเกิดเป็นวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในชื่อผลงาน “เรียนคณิตศาสตร์สนุกด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลจากระบบ OBEC Content Center”
ตัวอย่างไฟล์ รายงานวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (OBEC Content Center) ประเภท ผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
เอกสารเป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารจากลิงก์ด้านล่างนี้ นะครับ
ติดตามข่าวบน Facebook เพื่อไม่พลาดข่าว ได้ที่
ท่านสามารถติดตามข่าวสารการศึกษา ข่าวเปิดสอบงานราชการ เปิดสอบครูอัตราจ้าง ข่าวเรียกบรรจุ อบรมออนไลน์ โหลดสื่อการสอน หรืออ่านบทความต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา www.สื่อฟรีออนไลน์.com ได้ตลอดเวลา และสุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เราจะนำเสนอข้อมูล เนื้อหาดี ๆ มีสาระให้กับทุกท่านอีกครั้งอย่างแน่นอน ขอบคุณครับ
ขอบคุณแหล่งที่มา : คุณครูชนัญญา องค์กุย
ติดตามโพสต์ล่าสุด
- แจกฟรี โครงการโรงเรียนคุณธรรม ไฟล์ Word แก้ไขได้
- แจกฟรี รายงานโครงงานคุณธรรม ตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีการศึกษา 2567
- ดาวน์โหลด การวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อสอบ O-NET กับมาตรฐาน ตัวชี้วัด และแนวคำตอบ วิชาคณิตศาสตร์
- ดาวน์โหลดฟรี ข้อสอบปลายภาคเรียน ข้อสอบหลายวิชา ตรงตามตัวชี้วัด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 พร้อมตารางวิเคราะห์ ปีการศึกษา 2567 ไฟล์ Word แก้ไขได้
- ดาวน์โหลด E-book มรดกภูมิปัญญาอีสาน