สวัสดีเพื่อนๆ สมาชิก สื่อฟรีออนไลน์ดอทคอม ทุกท่านนะครับ วันนี้พบกับ สื่อฟรีออนไลน์ดอทคอม เช่นเคยครับ วันนี้แอดมินมีไฟล์มาแนะนำให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นไฟล์ แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งเพื่อนๆ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดนำไปศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างและเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทยให้กับนักเรียนตามบริบทของห้องเรียน ได้ครับ แอดมินขอแนะนำไฟล์ แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย ตามรายละเอียดดังนี้ครับ

ดาวน์โหลด แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย

แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย

การพัฒนาผู้เรียนให้พร้อมเป็นพลเมืองที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศ โดยเฉพาะเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม เพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคง สถาพรของประเทศชาติ การจัดการศึกษาเพื่อบ่มเพาะผู้เรียนให้รักและภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง ในประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ก็มีความสำคัญเช่นกัน
เพื่อพัฒนาผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้พร้อมเป็นพลเมืองที่มีความรู้ ทักษะสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ เกิดความรักและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติไทยแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางใจความสำคัญว่า
“…การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน ๒ ด้าน คือ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง และมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคง…” และรับใส่เกล้าฯกระแสพระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่แสดงความห่วงใยต่อการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย กำหนดให้โครงการการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นจุดเน้นเชิงนโยบาย และได้ดำเนินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “การเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ผ่านกิจกรรม Active Learning การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นพัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้รับการเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ผ่านการลงมือปฏิบัติกิจกรรมรูปแบบActive Learning ที่บ่มเพาะและปลูกฝังความรัก ความภาคภูมิใจในชาติไทยและแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ดังนั้น เพื่อให้ครูผู้สอนสาระประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมครูผู้นำกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ที่ผู้เรียนได้ศึกษาและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือปฏิบัติกิจกรรมแบบ Active Learning สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้จัดทำเอกสาร “แนวการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ :ประวัติศาสตร์ชาติไทย” ขึ้น เป็นชุดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะทางประวัติศาสตร์ ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นการรู้จักหลักฐานที่หลากหลาย (Sourcing) ขั้นการประเมินคุณค่าของหลักฐาน
หรือการวิพากษ์หลักฐาน (Corroboration) และขั้นการวิเคราะห์สังเคราะห์โดยการใช้ข้อมูลที่ผ่านการวิพากษ์กับข้อมูลอื่น ๆ (Contextualizing) หรือรวมเรียกว่า “ทักษะทางประวัติศาสตร์ 1S2C” เพื่อเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจให้แก่ครูผู้สอนที่จะมีต้นแบบในการพัฒนาและปรับเสริมรูปแบบการสอนของตนต่อไป
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูและผู้ที่สนใจการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ผ่านกิจกรรมรูปแบบ Active Learning ปลูกฝังความรักความภาคภูมิใจในชาติไทยและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ตัวอย่างไฟล์เอกสาร


แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning : ประวัติศาสตร์ชาติไทย
แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning : ประวัติศาสตร์ชาติไทย
แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning : ประวัติศาสตร์ชาติไทย
แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning : ประวัติศาสตร์ชาติไทย
แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning : ประวัติศาสตร์ชาติไทย

เอกสารเป็นไฟล์ PDF

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารจากลิงก์ด้านล่างนี้ นะครับ

ขอบคุณแหล่งที่มา : สถาบันสังคมศึกษา สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ห้ามพลาด